ความเป็นมา
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเลือกตั้งเป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐
จึงทรงมีพระราชปณิธานที่จะดำเนินงานโครงการก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของมูลนิธิฯให้ลุล่วงไปตามเป้าหมายโดยเร็ว เพื่อให้อุทยานฯ สามารถอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนชาวสมุทรสงครามและท้องถิ่นใกล้เคียง และเพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้แพร่ไพศาลยั่งยืนอยู่ตลอดไป โครงการก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ ตำบลซึ่งเป็นที่พระบรมราชสมภพในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งพระราชสมุทรเมธี อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม ได้กรุณาอนุญาตให้ใช้ที่ดินของวัดประมาณ ๑๑ ไร่ ทางทิศตะวันตกของบริเวณพระอาราม เพื่อเป็นประโยชน์แก่กิจการของมูลนิธิฯ คณะกรรมการมูลนิธิฯ จึงดำเนินการจัดสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งวิทยาการศูนย์กลาง ศึกษาศิลปวัฒนธรรมไทย
เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเลือกตั้งเป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ จึงทรงมีพระราชปณิธานที่จะดำเนินงานโครงการก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของมูลนิธิฯให้ลุล่วงไปตามเป้าหมายโดยเร็ว เพื่อให้อุทยานฯ สามารถอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนชาวสมุทรสงครามและท้องถิ่นใกล้เคียง และเพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้แพร่ไพศาลยั่งยืนอยู่ตลอดไป
โครงการก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ ตำบลซึ่งเป็นที่พระบรมราชสมภพในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งพระราชสมุทรเมธี อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม ได้กรุณาอนุญาตให้ใช้ที่ดินของวัดประมาณ ๑๑ ไร่ ทางทิศตะวันตกของบริเวณพระอาราม เพื่อเป็นประโยชน์แก่กิจการของมูลนิธิฯ คณะกรรมการมูลนิธิฯ จึงดำเนินการจัดสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยขึ้นเพื่อ
ให้เป็นแหล่งวิทยาการ ศูนย์กลางศึกษาศิลปวัฒนธรรมไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องถิ่นด้วย ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ เป็นผู้อำนวยการโครงการก่อสร้าง โดยร่วมมือกับท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ร้อยเอกกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา และกรรมการมูลนิธิฯอื่นๆ เช่น นายธนิต อยู่โพธิ์ นายเดโช สวนานนท์ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร และนายสุรีย์ เหมะพันธ์ สถาปนิกแห่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบริหารงานและทรงหาทุนดำเนินการก่อสร้างอุทยานฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นมา การก่อสร้างในส่วนสำคัญ คือ โรงละครกลางแจ้ง อาคารทรงไทยซึ่งจัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และห้องสมุด (ซึ่งมอบให้กรมศิลปากร ร่วมดำเนินงานในฐานะหอสมุดแห่งชาติ สาขาสมุทรสงคราม) และสวนพรรณไม้ในวรรณคดี
ต่อมาหอสมุดถูกเพลิงไหม้เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ สูญเสียอาคารและทรัพย์สินในหอสมุด มูลนิธิฯ ได้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชบัญชาให้ก่อสร้างอาคารหลังใหม่แทนและให้ใช้เป็นที่ซ้อมโขนและ เก็บเครื่องดนตรีไทย ดังปรากฎอยู่ในปัจจุบัน
บุคคลที่เป็นกำลังสำคัญในการก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ฯ คือ
- พณฯ หม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล นายธนิต อยู่โพธิ์
- พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ (ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต)
- ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค
- ร้อยเอกกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา นายสุรีย์ เหมะพรรณ์
ได้เริ่มงานตั้งแต่การถมดินในพื้นที่ประมาณ ๑๑ ไร่ ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ ยังมีท้องร่องเป็นคูน้ำหล่อเลี้ยงโดยนายสุรีย์ เหมะพรรณ์ เป็นผู้ควบคุมดำเนินการการออกแบบโรงละครกลางแจ้ง โดย ร้อยเอกกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา และการก่อสร้างอาคารทรงไทย ๕ หลัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฤทัย ใจจงรัก แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารนี้ โดยดำเนินการ ตามศิลปะการก่อสร้างอาคารเรือนไทยโบราณซึ่งใช้ฝาประกน การก่อสร้างอาคารทรงไทย มีมูลค่าประมาณ ๗ ล้านบาท
การก่อสร้างในส่วนสำคัญได้สำเร็จลุล่วง มูลนิธิฯ ได้จัดงานพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์และหอสมุดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธาน เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ เปิดให้ประชาชน เข้าใช้บริการและศึกษาหาความรู้ได้ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๒๘ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการพัฒนาปรับปรุงตลอดมาในปัจจุบันแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๖ ส่วน
ส่วนที่ ๑
ลานจอดรถหน้าอุทยาน ปัจจุบันมี สำนักงานอุทยาน ร้านขายของที่ระลึกและอาศรมศึกษา (ปัจจุบันได้ใช้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ขนมไทย) ซึ่งมูลนิธิฯ ขออนุญาตพระอัมพวันเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม องค์ปัจจุบัน รื้อย้ายเรือนไทยโบราณที่ชำรุดในวัดมาปรับปรุงสร้างขึ้นใหม่
พิพิธภัณฑ์ขนมไทยในอุทยาน ร.๒ นับเป็นพิพิธภัณฑ์ล่าสุดที่เข้ามาอยู่ในการดูแลของอุทยานฯ โดยใช้พื้นที่ของเรือนไม้โบราณอายุกว่า ๑๐๐ ปี ที่อุทยานได้รับมอบและนำมาปรับปรุงขึ้นใหม่ในพื้นที่อุทยาน โดยมีชื่อเรือนว่า “อาศรมศึกษา” ซึ่งเดิมใช้เป็นสถานที่อ่านหนังสือสำหรับนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป และในปัจจุบันได้ใช้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ขนมไทย โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๒ ชั้นเรือน ได้แก่
ชั้นบน จัดแสดงขนมไทย (จำลอง) ชนิดต่างๆ และอาหารตามบทพระราชนิพนธ์ “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่กล่าวถึงชื่ออาหารคาว ๑๕ ชนิด อาหารหวาน ๑๕ ชนิด อาทิเช่น (ชื่ออาหาร และขนมที่นำไปแสดง) และขนมประเภทต่างๆกว่า ๑๐๐ ชนิด นอกจากนี้ยังจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ในการทำขนม อาทิเช่น กระต่ายขูดมะพร้าวรูปแบบต่างๆ เช่น เต่า ตะกรวด แมว เป็ด เป็นต้น
ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวของรูปแบบการจัดจำหน่ายขนม เช่น รถพ่วง รถเข็น เรือพาย
ความเป็นมา ขนมไทย ทำไมจึงเรียกว่า “ขนม”
คำว่า “ขนม” สันนิษฐานว่ากร่อนเสียงมาจาก “เข้าหนม” ซึ่งคำว่า “เข้า” คือ ข้าว ส่วนคำว่า “หนม” แปลว่า หวาน เมื่อรวมกันจึงหมายความว่า ข้าวหวาน คือ ข้าว (แป้ง) ที่ผสมน้ำตาลหรือน้ำอ้อยจนเกิดรสหวาน
ตำนานขนม
“ขนมต้ม” นับเป็นขนมเก่าแก่ที่สุดที่มีการบันทึกชื่ออยู่ในหนังสือ “ไตรภูมิพระร่วง” วรรณคดีทางพุทธศาสนาซึ่งพญาลิไททรงรวบรวมเรื่องจากคัมภีร์อินเดียโบราณนำมานิพนธ์เรียบเรียงเป็นภาษาไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๘๘
วัตถุดิบยุคแรกเริ่ม
ขนมไทยแรกเริ่ม ใช้วัตถุดิบหลักคือ “แป้ง” จากข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว, “น้ำตาล” จากมะพร้าวหรือตาล และ“มะพร้าว”
ขนมต้มพิสูจน์บุญบารมี
พระยาศรีธรรมาโศกราช ต้องการทำให้เหล่าสนม เห็นว่านางอสันธิมิตตา ที่พระองค์ทรงโปรดนั้น มีบุญเหนือผู้อื่น จึงสั่งทำขนมต้ม ๑๖,๐๐๑ ลูก แล้วทรงถอดแหวนใส่ไว้ ในขนมลูกหนึ่งจากนั้นจึงให้เหล่าสนม เลือกขนมไปคนละหนึ่งลูก ปรากฏว่าขนมต้มที่นางอสันธิมิตตาได้ไปนั้น เป็นลูกที่มีแหวนอยู่ข้างใน
อยุธยา : AYUTTHAYA เริ่มต้นขนมไทย
แท่งศิลาจารึก ซึ่งสันนิษฐานว่าอยู่ในกรุงศรีอยุธยามีการจารึกถึงขนม 4 อย่าง ถือเป็นขนมชนิดแรกของไทย คือ “ไข่กบ นกปล่อย บัวลอย อ้ายตื้อ” เป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อเลี้ยงคนงาน หลังจากเสร็จงานในคราวขุดสระ เกิดเป็นประเพณีเลี้ยงขนม เรียกว่า “ประเพณี 4 ถ้วย”
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ขนมไทย เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ เมื่อ “ท้าวทองกีบม้า” หรือชื่อเดิมว่า “มารี กีมาร์” สตรีโปรตุเกสเชื้อสายญี่ปุ่น ภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ได้เข้ารับราชการเป็นผู้ทำอาหารประจำห้องเครื่อง โรงครัวหลวง และได้คิดปรับปรุงสูตรขนมหลายอย่าง เพื่อสอนแก่พนักงาน
วัตถุดิบแห่งการเปลี่ยนแปลง
ขนมไทยสูตร “ท้าวทองกีบม้า” นั้น เกิดจากการนำสูตรขนมโปรตุเกสมาดัดแปลงผสมผสาน โดยนำวัตถุดิบสำคัญ 2 อย่างมาใช้ คือ “ไข่” ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของขนมประเภทเครื่องไข่ และ “น้ำตาลทราย” ซึ่งนำมาใช้แทนน้ำตาลโตนด เพราะละลายเร็วกว่า
รัตนโกสินทร์ : RATTANAKOSIN ขนมหลากหลาย กลายเป็น “สำรับ”
ยุคต้นรัตนโกสินทร์ ขนมไทยมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น จนมีการจัดรวมเป็น “สำรับหวาน” แยกไว้คู่กับ “สำรับคาว” โดยปรากฏรายชื่อขนม ๑๐ ชนิด ที่ใช้ในสำรับหวานถวายพระ เมื่อคราวฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมัยรัชกาลที่ 1 ในจดหมายเหตุความทรงจำ ของกรมหลวงนรินทรเทวี
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้ทรงนิพนธ์ “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” บรรยายถึงรสชาติ และลักษณะอาหารคาว ๑๕ ชนิด, ขนมหวาน ๑๕ ชนิด เป็นงานชิ้นสำคัญ ที่ช่วยสืบทอดความรู้ด้านอาหาร และขนมไทย
ตำราขนมเล่มแรก
สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการพิมพ์ตำราอาหารเล่มแรกของไทย เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ใช้ชื่อว่า “ตำราแม่ครัวหัวป่าก์” มีทั้งสูตรอาหารคาว และสูตรขนมหวานรวมหลายร้อยชนิด ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑
แปลงฝรั่งมาเป็นไทย
ตลอดเส้นทางอันยาวนาน มี “ขนมไทย” จำนวนไม่น้อยที่เกิดจากการ “เปิดรับ” นำสูตรขนมชาติอื่นมาผสมผสานดัดแปลงเข้ากับวัตถุดิบ และภูมิปัญญาเฉพาะตัวของไทยจนเกิดเป็น ขนมชนิดใหม่ๆมากมาย มาจนถึงทุกวันนี้
ร้านขนมหม้อดิน
ขายขนมประเภทบวด, ประเภทแป้งต้มกับกะทิ, ประเภทเปียก และประเภทต้มน้ำตาล ส่วนมากจะรับประทานขณะร้อน จึงใส่ภาชนะหม้อดินเพื่อเก็บรักษาความร้อน มักเพิ่มความหอมด้วยใบเตย และราดหัวกะทิก่อนรับประทาน
ประเภทบวด: ใช้ผลไม้, เผือก, มัน, ถั่ว หรือ ฟักทอง ต้มกับกะทิและน้ำตาล เช่น กล้วยบวดชี, ฟักทองแกงบวด, มันบวด, เผือกบวด และข้าวเหนียวถั่วดำ
ประเภทแป้งต้มกะทิ : วิธีการทำคล้ายกับขนมประเภทบวด แต่ใช้แป้งต้มกับกะทิและน้ำตาลแทน เช่น ปากริมไข่เต่า, ครองแครงน้ำกะทิ, บัวลอย
ประเภทเปียก : วิธีการ “เปียก” คือการกวนให้สุก โดยใช้วัตถุดิบประเภทข้าว, สาคู หรือแป้ง เช่น ข้าวเหนียวถั่วดำ, สาคูเปียกเผือกมะพร้าวอ่อน, ข้าวเหนียวเปียกลำไย, เต้าส่วน หรือถั่วเปียก
ประเภทต้มน้ำตาล : ใช้ถั่วแดง, ถั่วเขียว หรือมันเทศ ต้มกับน้ำตาลทรายแดง เช่น มันต้มขิง, ถั่วเขียวต้มน้ำตาล