พระอัจฉริยภาพ

ทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งในด้านประติมากรรม ทรงแกะสลักบานประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม ด้านสถาปัตยกรรม ทรงเป็นราชสถาปนิกออกแบบวางผังพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม และวัดสุทัศน์เทพ วราราม และด้านจิตรกรรม  มีผลงานที่สำคัญ คือ เครื่องเบญจรงค์ และลายน้ำทอง ที่มีสีสัน ลวดลายงดงามมาก จนเป็นแบบอย่างต่อมาจนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าผลงานจากพระราชกรณียกิจด้านศิลปะของพระองค์ มีความโดดเด่นยิ่งนัก ทางราชการจึงได้กำหนด ให้วันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ คือวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย

พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงรวบรวมวรรณคดีมีเพิ่มพูน
ทรงเสริมสร้างของเก่าเอามาไว้
ทรงเกื้อกูลกวีไทยให้เรืองรอง
ทรงพระราชกำหนดกฎหมายใหม่
เพื่อขจัดโจรภัยให้สร่างซา
รัชกาลของพระองค์ทรงเดชเปี่ยม
แม้นพระยาช้างเผือกหลายเชือกกราย
จึงทรงใช้ธงช้างอย่างธงชาติ
จีนอังกฤษเป็นไมตรีมีสัญญา

ทรงพิทักษ์ภาษาไทยไม่เสื่อมสูญ
ให้จำรูญงามงดบทร้อยกรอง
แต่งเติมให้ดีไม่มีหมอง
เป็นยุคทองยิ่งกว่าที่เคยมีมา
ให้คนไทยเลิกฝิ่นสิ้นปัญหา
ชาวประชาไม่หลงลงอบาย
พม่าเยี่ยมเยือนสัมพันธ์มั่นมุ่งหมาย
มาถวายใต้เบื้องพระบาทา
สัญลักษ์ประกาศพิลาศหนา
บ้านเมืองจึงวัฒนาก้าวมาไกล ฯ

จากหนังสือ ประชุมบทกวีนิพนธ์ สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์

พระปรางค์ เมื่อเอ่ยถึงวัดอรุณราชวราราม สิ่งแรกที่จะเป็นที่นึกถึงคือ พระปรางค์วัดอรุณพระปรางค์องค์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่หน้าวัดซึ่งหันไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นสถาปัตยกรรมที่มีมาแต่เดิม เดิมสูงเพียง ๘ วา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อเสริมขึ้น เพื่อให้ใหญ่สมเป็นพระมหาธาตุเจดีย์ ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ทำได้เพียงเตรียมขุดฐานรากไว้เท่านั้นก็เสด็จสวรรคต

นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้์ ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตรของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรง ของพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๒ นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญ ก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่ง พระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี

ในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้เสวยราชสมบัติในปีนั้น เมื่อได้ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้วเมื่อปีมะแม ตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ ถึงปีระกาเบญจศกจุลศักราช ๑๑๗๕ จึงได้ทรงสร้างวัดสุทัศน์ต่อมา โดยพระราชดำริว่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่เสาชิงช้านั้น

สมเด็จพระบรมชนกนาถ มีพระดำริจะสร้างวัดใหญ่ขึ้นกลางพระนครพอก่อรากพระวิหารประดิษฐานพระศรี ศากยมุนีแล้ว ก็พอสิ้นรัชกาล ยังมิได้ประดิษฐานเป็นสังฆาราม ซี่งเรียกกันในเวลานั้นว่า วัดพระโต จึงโปรดให้สถาปนาต่อมา สร้างพระวิหารยังไม่แล้ว ทรงพระดำริให้ช่างเขียนเส้นลายบานประตูวัดพระใหญ่ยกเข้าไป ทรงพระศรัทธาลงลายพระหัตถ์สลักภาพกับกรมหมื่นจิตรภักดี เรื่องบานประตูวัดพระใหญ่ซึ่งทุกวันนี้เรียกว่าพระโต คือพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์นี้ได้ความชัดเจนดีนัก ประหลาด ที่ไม่ใคร่จะมีใครรู้ เล่ากันไปต่างๆ นานา แต่ที่ทรงเองเห็นจะเป็นบานกลาง

เมื่อรัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ มีพระราชประสงค์อยากจะให้สลักบานอย่างพระวิหารพระศรีศากยมุนี โปรดให้กรมขุนราชสีห์และช่างสลักมีพระยาจินดารังสรรค์เป็นต้น ไปคิดอ่านสลักให้เหมือนเช่นนั้นไม่สำเร็จต้องสลักเป็นสองชั้นซ้อนกันลงเพราะ ถากไม้ไม่เป็น

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าทรงถากรูปหุ่นดีนัก จึงได้ถากลายบานนี้ได้เพราะเป็นการเหลือวิสัย ที่ช่างเขียนหรือช่างสลักจะทำไม้บานประตูพระวิหารนี้ เป็นไม้กระดานแผ่นเดียวสลักดีไม่มีที่ไหนเหมือนอันเป็นของที่ควรชมอยู่ทุก วันนี้ ไม้บานหนา ๑๖ เซ็นต์ หน้ากว้าง ๑.๓๐ เมตร ยาวหรือสูง ๕.๖๔ เมตร สลักลึกลงไป ๑๔ เซ็นต์ เป็นรูปภูเขาต้นไม้ มีถ้ำคูหา และรูปสัตว์ต่างๆ เสือ ลิง กวาง หมู ตะขาบ งู อึ่งอ่าง นก และอื่นๆ อีกมาก สลักเป็นรูปเด่น เป็นตัว สลับซับซ้อนเป็นชั้นๆ น่าพิศวงมาก ซึ่งไม่เห็นมีที่ไหนจะทำได้เหมือนอย่างนี้ มีคำเล่าสืบกันมาว่า ช่างที่สลักบานพระวิหารพระโตนี้ เมื่อทำการเสร็จแล้ว ประสงค์จะไม่ให้ใครทำได้เหมือน จึงเอาเครื่องมือทิ้งน้ำเสีย ข้อนี้สันนิษฐานเห็นว่า เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักนั้น ให้ประดิษฐ์ทำขึ้นใช้ทำการอื่นอีกไม่ได้ต้องยุบทำอย่างอื่นต่อไป มีคำเล่ากันว่าเมื่อมีความประสงค์จะต้องการเครื่องมือเล็กใหญ่ รูปคดโค้งอย่างไร ก็สั่งให้ช่างเหล็กทำขึ้นอย่างนั้นสำหรับใช้ในการนั้น ครั้นเสร็จการนั้นแล้วเครื่องมือนั้นก็ใช้การอื่นไม่ได้ เป็นเหมือนเอาเครื่องมือทิ้งน้ำ คงเอาไว้แต่ลายฝีมือ ข้อนี้เป็นความสันนิษฐาน แต่ความจริงจะเป็นอย่างไรนั้นไม่ทราบสุดแล้วแต่ผู้อ่านจะพิจารณาลง สันนิษฐานฯ

บทความที่เกี่ยวข้อง